วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การจัดซื้อ และการจัดหาระดับโลก
น.ส. ฐิตราภักดิ์ ภัทรวงศ์ชัย นักศึกษา สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต 
นายสิงหา ขวัญเจริญ นักศึกษา สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทนำ
การจัดซื้อ และการจัดหาระดับโลก ถือเป็นกลยุทธ์วิธีหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการจัดซื้อสินค้า และการจัดหาบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้จำหน่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่าย และยังเป็นการเพิ่มโอกาสของธุรกิจให้สามารถขยายตัวได้ทั่วโลก
ความหมาย และลักษณะสำคัญ
การจัดซื้อระดับโลกเป็นกระบวนการประสานงานในการจัดซื้อสินค้า และจัดหาบริการเพื่อสนองความต้องการของธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากทั่วทุกมุมโลก  มี 2 รูปแบบ ได้แก่
International sourcing   การติดต่อซื้อขายกับต่างประเทศ หรือว่าเครือข่ายบริษัทคู่ค้าที่อยู่ในต่างประเทศ แต่ไม่ไกล  และไม่ซับซ้อนมากนัก การจัดการกการจัดซื้อจัดหาทั้งหลายก็ทำแบบ ความรู้เดิมๆ ไม่พลิกแพลงอะไรมากนัก ไม่ได้ดึงความรู้ด้านอื่นๆ มาช่วยเท่าไร เน้นแต่จัดซื้อพื้นฐาน
Global sourcing ซับซ้อนมากขึ้น แต่เค้าใช้คำว่า more complexiblity คือว่า ดึงความรู้ด้าน technology, การติดต่อค้าขายที่ขยายกว้างมากขึ้น อาจข้ามขั้วโลกไปได้ อาจตีได้ว่า ขยายกิจการได้กว้างขวางมาก   และ ธุรกิจเติบโตแบบซับซ้อน และใช้ความรู้ที่ผสมผสานกัน  หรืออาจเรียกว่า การจัดซื้อจัดหาแบบบูรณาการ

นิยาม
การจัดซื้อระดับโลก คือ กระบวนการต่างๆ ที่ทางบริษัท ทำสัญญากับบุคคลที่สาม ซึ่งได้จัดทำขึ้นระหว่างประเทศของผู้ซื้อ และผู้จำหน่าย เพื่อที่จะได้มาซึ่งสินค้า และบริการที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจด้วยจังหวะเวลาที่เหมาะสม   และด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ

ประโชยน์
การสร้างพันธ์มิตรทางธุรกิจ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้จัดจำหน่ายทั่วโลกให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจากการซื้อขายสินค้า เช่น ผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้าจากบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเคยทำการซื้อขายกันมาเป็นระยะเวลานานมาก จนทุกวันนี้ทั้งด้านฝ่ายซื้อ และฝ่ายผู้จัดจำหน่ายได้ตกลงทำความร่วมมือกันในเรื่องส่วนลดพิเศษ และการขนส่งสินค้าฟรีจากผู้จัดจำหน่ายสู่ผู้ซื้อด้วยเงื่อนไขที่ทางผู้จัดจำหน่ายได้กำหนด และได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรตกลงกันไว้
เปลี่ยน "คู่แข่ง" เป็น "คู่ค้า"  ในหลายๆ ธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีทุนไม่มาก ถ้าใช้โมเดลธุรกิจด้วยการลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้าเอง คงยากที่จะมีโอกาสเกิด โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นการใช้เครื่องจักรในการผลิต และแข่งขันกันด้วยปริมาณ และมุ่งเน้นตลาดแมส ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งมีบริษัทยักษ์ใหญ่ครองตลาดอยู่แล้ว และยังมีผู้ประกอบการอีกมากมายที่กำลังสร้างตลาด รวมทั้ง รายใหม่ๆ ที่กำลังก้าวเข้ามา
ต้นทุนที่ต่ำลง  เนื่องจากการจัดหาแหล่งสินค้า และบริการ จากทั่วโลกมีโอกาสพบแหล่งสินค้าขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลายมากกว่า และมีราคาที่ต่ำมากกว่า แต่ละประเทศอาจมีต้นทุนแผงที่แตกต่างกันไป เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษีนำเข้า และส่งออก และพิธีทางศุลกากร เป็นต้น ทำให้ผู้ซื้อจะต้องตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อสินค้าประเทศได้ดี ถึงจะคุ้มค่าที่สุด และระยะเวลาเหมาะสมกับความต้องการ มีความเชื่อถือได้
            การเพิ่มโอการทางธุรกิจ ในการขยายตัวสู่เศรษฐกิจโลก ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางมีโอกาสที่จะปูทางสร้างตราสินค้าเป็นของตนเอง เนื่องจากสามารถสร้างตลาดได้เพิ่มมากขึ้นจากทั่วโลก และหาลูกค้าที่มีความต้องการในสินค้าได้ตรงตามความต้องการมีจำนวนมากกว่าที่จะจำหน่ายให้แต่ลูกค้าภายในประเทศ
โอกาสทางธุรกิจ  มีเสมอสำหรับคนที่พร้อมจะลงมือ   และมองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  และกำลังเป็นไปอย่างเท่าทัน   ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมักจะเห็นแสงสว่างในความมืดด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
นำเสนอแนวคิด และการก้าวเดินในธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของผู้ประกอบการรายหนึ่ง ที่บอกว่า วันนี้แม้จะยังเป็นเหมือนว่าวตัวเล็กที่ลอยลู่ลมท้าแดดฝน แต่ในวันหนึ่งจะกลายเป็นว่าวตัวใหญ่ที่ลอยเด่นล้อลมท่ามกลางผืนแผ่นฟ้าที่สด ใส
การสร้างธุรกิจยุคไร้พรมแดน'Global Sourcing' คิดแบบทุนน้อย
- จะทำอย่างไรเมื่อการตั้งโรงงานผลิตกลายเป็นภาระ และความเสี่ยงเกินไปสำหรับธุรกิจ
- เมื่อผู้ผลิตทั่วโลกมีให้เลือกมากมายในยุคโลกาภิวัตน์
-"Global Sourcing" จึงกลายเป็นคำตอบของผู้ประกอบการลงทย

ข้อจำกัด
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำ มีผลต่อ Global Sourcing and Supply Chain สภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ต้องหันมามองซัพพลายเชนให้มากขึ้นอีก (จากเดิมที่มากอยู่แล้ว) และให้มองประสิทธิภาพมากขึ้นอีก หมายถึงการกลับไปดูเรื่องการหาแหล่งผลิตการค้าปลีกแฟชั่นยุคใหม่ ร้านค้าต้องเพิ่มความเร็วของระบบและการบริหารวงจรสินค้า เพื่อให้มีสินค้าใหม่เข้าร้านบ่อยๆ ซึ่งเป็นมัลติแบรนด์ที่มีสาขา 180 สาขาทั่วสหรัฐอมเริกา เห็นว่าเอเซียยังเป็นแหล่งผลิตสำคัญที่สุด ถึงแม้ว่าจำนวนโรงงานจะลดลงเพราะถูกพิษเศรษฐกิจจนต้องปิดไป หรือว่าแรงงานเริ่มหายากก็ตาม  การเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่ คือ ประเทศที่เป็นแหล่งผลิตกลายเป็นประเทศที่เป็นผู้บริโภคที่กำลังขยายตัวด้วย ในขณะที่ตลาดเก่าเป็นตลาดที่อิ่มตัว การขยายตัวต่ำ ผู้บริโภคทุกวันนี้ฉลาดขึ้น หาข้อมูลได้ง่าย สินค้าต้องเปลี่ยน จะทำแบบเดิมๆ ไม่ได้ ต้องคิดหาสิ่งใหม่ๆ มานำสนอทุกวัน ไม่ใช่รอจนเปลี่ยนซีซั่น คือปีละสองครั้งเหมือนเมื่อก่อน การจะหาสินค้าใหม่ๆ มาเสนอลูกค้าได้ทุกวันก็ต้องมีวิธีการหน่อย ซึ่งฟังแล้วอาจไม่มีอะไรใหม่สุดๆ เป็นการใช้ระบบเดิมอยู่ แต่เร็วขึ้นอีก ไม่รู้จะเร็วกันไปได้มากที่สุดของระบบทั้งหมด และการบริหารวงจรสินค้า product life cycle management ให้เป็นตัวที่เปลี่ยนระบบเดิมที่เปลี่ยนสินค้าตามฤดูกาล จัดกลุ่มสินค้าใหม่ตามสินค้าที่ขายดี และปรับเรื่องวัตถุดิบ ผลคือช่วยให้มีสินค้าใหม่ๆ มาวางขายได้บ่อยกว่าที่เคยเป็นมา นอกจากนั้นแล้ว เรื่องความรับผิดชอบทางสังคม Ethical business practice และ การรักษาสิ่งแวดล้อม ก็ล้วนแต่เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ที่จะละเลยไม่ได้  ร้านที่เน้นขายแฟชั่นราคาย่อมเยายังเป็นที่นิยม  เศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างที่ผ่านมาทำให้คุณภาพสินค้าต้องลดระดับลง ผู้ผลิตส่งสินค้าที่ไม่ตรงคุณสมบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นเพราะต้องการลดต้นทุน บรรดาห้างค้าปลีกทั้งหลายเลยหาทางออกด้วยการมาลงที่ระบบซัพพลายเชน และเลี่ยงแหล่งผลิตที่ส่งมอบไม่ค่อยแน่นอน เช่น ปากีสถาน อีกวิธีที่บริษัทใช้คือเข้าไปดูว่าระบบซัพพลายเชนบกพร่องตรงไหน เช่น ถ้าต้องใช้เวลาหลายวันโหลดสินค้าออกจากตู้ ก็ต้องไปสนใจตรงนั้นว่าทำไมนานผิดปกติ
การกีดกันทางภาษี  ของแต่ละประเทศทำให้การซื้อขายระหว่างประเทศอาจมีปัญหาเรื่องการนำเข้า และการส่งออก ซึ่งจะทำให้เสียเวลา และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎระเบียบพิธีศุลกากร ภาษา และวัฒนธรรมที่แตกต่างทำให้การดำเนินการต่าง ๆ  อาจล่าช้าเกินความจำเป็นได้

เนื้อหา
9 แนวคิดในการจัดซื้อระดับโลก
          ปัจจุบันการจัดซื้อนับว่ามีความสำคัญต่อองค์กรอย่างมาก เนื่องจากการดำเนินการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มคุณค่า (Value Added) จากการดำเนินงานทำให้องค์กรได้รับผลกำไรมากขึ้น หลายๆ องค์กรใหญ่ระดับโลกมักจะมีหน่วยงานจัดซื้อที่มีความสามารถในการจัดซื้อระดับ มืออาชีพ หรือมีหน่วยงานจัดซื้อระดับโลกอยู่ในองค์กร ในการทำให้องค์กรก้าวสู่การเป็นองค์กรจัดซื้อระดับโลกได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยแนวคิดในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กร และได้มีการเผยแพร่แนวคิดต่างๆ ไว้ในบทความ หรือวารสารวิชาการต่างๆ ในบทความนี้ผู้เขียนได้รวบรวม และสรุปแนวคิดหลักที่สำคัญในการทำให้องค์กรของท่านก้าวไปสู่การเป็นองค์กร จัดซื้อระดับโลก ซึ่งแนวคิดต่างๆ เหล่านั้น ประกอบด้วย
1. โน้มน้าวผู้บริหาร  ก่อนที่จะนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด(Best practices) เกี่ยวกับการจัดซื้อมาใช้กับองค์กร ควรต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร หากไม่มีการโน้มน้าวผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้นำองค์กร และผู้จัดการฝ่ายการเงินให้เห็นด้วยกับการนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ ความพยายามในการพัฒนาองค์กรจัดซื้อให้ก้าวไปสู่องค์กรจัดซื้อระดับโลกก็มัก ทำได้ยากขึ้นเนื่องจากอาจถูกขัดขวางหรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร ระดับกลางได้ ดังนั้นหากต้องการความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงองค์กร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของ องค์กรก่อนเสมอ
2. ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่  องค์กรใดที่ก่อตั้งมายาวนานก็มักจะมีฐานข้อมูลจัดซื้อ เช่น ข้อมูลผู้ขาย มากพอสมควร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมักมีความผิดพาด ซ้ำซ้อน และไม่เป็นปัจจุบัน ยิ่งถ้าองค์กรมีหน่วยงานจัดซื้อกระจายอยู่หลายแห่ง ความผิดพลาดของข้อมูลก็ยิ่งมากขึ้นทวีคูณ ในการนำกลยุทธ์องค์กรจัดซื้อระดับโลกมาใช้นั้น ข้อมูลผู้ขายของแต่ละหน่วยงานจัดซื้อจะต้องถูกปรับปรุงให้ถูกต้องเป็นปัจ ุบัน กำจัดข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซ้ำซ้อน และไม่จำเป็นออกไป ซึ่งประโยชน์ของการมีข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจในการ บริหารงานได้อย่างถูกต้อง และทำให้หน่วยงานจัดซื้อที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันในการวิเคราะห์การจัดซื้อของผู้ขายแต่ละรายได้ และเมื่อทราบองค์กรทราบข้อมูลการใช้จ่ายไปกับผู้ขายอย่างถูกต้องแล้ว องค์กรก็จะมีอำนาจต่อรองกับผู้ขายเพิ่มมากขึ้นด้วย
3. ใช้ประโยชน์จากโปรแกรมส่งเสริมการขายของผู้ขาย  เป็นธรรมดาที่ทุกองค์กรจะพยายามชำระเงินค่าสินค้าให้ผู้ขายช้าที่สุดเท่าที่ จะทำได้ ถ้าผู้ขายมีกำหนดได้รับเงินภายใน 45 วัน พวกเขาจะไม่มีทางที่ได้รับเงินก่อน 45 วันเลย ซึ่งผู้ขายต่างก็พยายามทำให้ลูกค้าของตนชำระเงินก่อนหน้าครบกำหนด โดยเสนอส่วนลดเงินคืน การลดราคา หรือโปรแกรมส่งเสริมการขายต่างๆ ให้กับลูกค้า ถึงแม้ว่าผู้ขายจะใช้โปรแกรมส่งเสริมการขายต่างๆ แต่ลูกค้าก็ยังไม่เคยชำระเงินให้ผู้ขายก่อน สาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากการที่องค์กรเหล่านั้นได้บันทึกข้อมูลกำหนดการชำระ เงินของผู้ขายแต่ละรายในระบบ ERP แล้วรอให้ถึงกำหนดชำระเงิน เช็คจึงจะถูกออกให้กับผู้ขายโดยไม่ได้นึกถึงโปรแกรมส่งเสริมการขายของผู้ขาย แต่อย่างใด การรับทุกส่วนลด หรือทุกโปรแกรมส่งเสริมการขายเท่าที่จะทำได้นั้น นับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การจัดซื้อระดับโลก และยิ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นนี้ องค์กรต่างๆ ไม่ควรละทิ้งส่วนลดหรือโปรแกรมส่งเสริมการขายต่างๆ นอกจากนี้ องค์กรยังควรเจรจาส่วนลดกับผู้ขายให้มากขึ้นในกรณีที่จ่ายเงินทันที่ที่รับ สินค้า หรือกรณีที่จ่ายเงินก่อนส่งของด้วย
4. ประเมินผู้ขาย  กลยุทธ์การจัดซื้อที่ดีนั้นควรมีการกำหนดวิธีประเมินผู้ขาย ซึ่งกระบวนการประเมินไม่ควรมีแต่การวัดความสามารถในการจัดส่งสินค้า แต่ยังควรมีตัวชี้วัดอื่นเช่น ความถูกต้องของจำนวนการจัดส่งสินค้าในแต่ละครั้ง คุณภาพของสินค้าที่ถูกจัดส่ง และคุณภาพการบริการ ตัวชี้วัดเหล่านี้อาจไม่จำเป็นต้องวัดทุกครั้ง แต่บางครั้งตัวชี้วัดนี้ก็มีความสำคัญ ถ้านโยบายขององค์กรกำหนดให้มีการประเมินผู้ขายทุกราย ต้องไม่ลืมแจ้งผู้ขายทุกรายให้ทราบด้วยว่าพวกเขากำลังจะถูกประเมินซึ่งหาก ผู้ขายทราบว่าพวกเขากำลังถูกจับตาจากลูกค้าก็จะทำให้พวกเขายกระดับการบริการ ให้ดียิ่งขึ้น
5. จ้างนักจัดซื้อมืออาชีพ  หลายองค์กรเชื่อว่าความรู้ และทักษะด้านธุรการเป็นสิ่งจำเป็นเพียงพอสำหรับบุคลากรในหน่วยงานจัดซื้อ ซึ่งเท่ากับว่าองค์กรเหล่านั้นให้พนักงานเสมียนมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายมูลค่า มากขององค์กร นักจัดซื้อมืออาชีพเท่านั้นที่เป็นกุญแจสำคัญในองค์กรจัดซื้อระดับโลก ซึ่งความรู้และทักษะที่จำเป็นของนักจัดซื้อในองค์กรจัดซื้อระดับโลกได้แก่ ทักษะความรู้เกี่ยวกับธุรกิจของสินค้าที่ซื้อ การวิเคราะห์ เจรจาต่อรอง และการติดต่อสื่อสาร หากหน่วยงานจัดซื้อไม่มีพนักงานที่มีความรู้และทักษะเหล่านี้แล้ว มีโอกาสมากที่องค์กรจะซื้อสินค้ากับผู้ขายที่ไม่ดีพอ หรือซื้อสินค้าผิด หรือไม่ก็ซื้อของแพง
6. ลดจำนวนผู้ขาย  หลายองค์กรมีการติดต่อซื้อขายกับผู้ขายเป็นร้อยเป็นพันราย และบางองค์กรมีการติดต่อซื้อขายกับผู้ขายมากถึงหมื่นราย ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลผู้ขายนับหมื่นรายในระบบนั้น นอกจากที่จะต้องทำการดูแลรักษาข้อมูลที่มากมายเหล่านั้นแล้ว ยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นด้วย ถ้าหน่วยงายจัดซื้อส่งซื้อสินค้าจากผู้ขาย 20 รายในแต่ละวัน นั่นหมายถึงว่าใบสั่งซื้อ 20 ใบสั่งซื้อจะถูกส่งไปให้ผู้ขาย และจะเกิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสำหรับ 20 การจัดส่ง รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับการรับสินค้า 20 ครั้งด้วย ซึ่งหากองค์กรสามารถลดจำนวนผู้ขายจาก 20 ราย เหลือเป็น 5 ราย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ ก็จะลดลงทันที และองค์กรอาจสามารถเจรจาต่อรองราคาสินค้ากับผู้ขายให้ลดลงได้มากขึ้นอีกด้วย
7. รวมศูนย์การจัดซื้อ  องค์กรที่มีหลายหน่วยงานจัดซื้อกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ  หรือสาขาต่างๆ กลยุทธ์การจัดซื้อระดับโลกที่องคืกรสามารถนำมาใช้ในกรณีนี้ได้แก่การรวม ศูนย์การจัดซื้อเพื่อให้เป็นรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการจัดซื้อไว้ที่เดียว ณ หน่วยงานจัดซื้อกลาง ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถตรวจสอบการจัดซื้อได้ทั้งหมด และยังสามารถคัดเลือกผู้ขายที่เสนอราคาสินค้าหลักให้กับองค์กรได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการรวมศูนย์จัดซื้อไม่สามารถใช้ได้กับสินค้าบางรายการที่สาขา ต่างๆ จำเป็นต้องจัดซื้อกับผู้ขายภายในท้องถิ่นเพื่อทำให้เกิดความสะดวกในการซื้อ สินค้าดังกล่าว
8. รับเอาสิ่งที่ดีที่สุดจากผู้ขาย  การเจรจาข้อตกลงกับผู้ขายควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งองค์กรจัดซื้อระดับโลกจะไม่ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับผู้ขาย ตั้งแต่แรกเพราะผู้ขายถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งในโซ่อุปทานขององค์กร เนื่องจากสินค้าวัตถุดิบต่างๆ ที่ผู้ขายจัดส่งให้กับองค์กรเพื่อทำการผลิต จัดจำหน่าย และจัดส่งสินค้าสำเร็จรูปให้กับลูกค้าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถูกจัดส่งให้ กับองค์กรตรงตามเวลาที่ตกลงไว้ ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขายจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับ องค์กรว่าจะได้รับสินค้าวัตถุดิบในจำนวนที่ถูกต้อง และตรงเวลา การเจรจาต่อรองกับผู้ขายควรมุ่งประเด็นไปที่ผลประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้ขาย โดยแสดงให้ผู้ขายเหล่านั้นเห็นว่า หากองค์กรประสบความสำเร็จ พวกเขาก็ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน ส่วนการมุ่งเน้นเจรจาในด้านบทลงโทษและค่าปรับเมื่อผู้ขายส่งสินค้าที่ไม่มี คุณภาพ หรือส่งของไม่ตรงเวลาอาจทำให้ความเต็มใจในการให้บริการของผู้ขายลดน้อยลงได้
9. ใช้เทคโนโลยีให้มากที่สุด  ยังมีบางองค์กรที่ใช้การบันทึกข้อมูลจัดซื้อลงในการ์ด หรือจัดทำเอกสารใบขอเสนอซื้อ (Purchase requisition; PR) และเอกสารใบสั่งซื้อ (Purchase order; PO) ที่เป็นกระดาษ ปัจจุบันมีซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้ในงานจัดซื้อได้ เช่น MS Excel ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรสามารถค้นหาข้อมูลการสั่งซื้อ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีซอฟท์แวร์สำหรับการบริหารทรัพยากรขององค์กร (ERP) ซึ่งจะช่วยบรูณาการด้านข้อมูลระหว่างหน่วยงานจัดซื้อกับหน่วยงานอื่นภายใน โซ่อุปทานในองค์กรให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายองค์กรที่ไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ การนำระบบ ERP มาใช้กับองค์กรนับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การจัดซื้อระดับโลกที่จะทำให้องค์กร ได้รับประโยชน์ หลายองค์กรที่ใช้ระบบ ERP สามารถนำเทคนิคกระบวนการทำงาน(Workflow) ของระบบ ERP มาใช้ในการอนุมัติและจ่ายเงินแบบอัตโนมัติเพื่อลดเวลาการทำงานของพนักงานจัด ซื้อและลดความวุ่นวายในขั้นตอนการทำงานดังกล่าว นอกจากนี้ ข้อมูลจัดซื้อจำนวนมากซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในคลังข้อมูล (Data warehouse) ยังสามารถเรียกใช้เพื่อช่วยพนักงานจัดซื้อในการประเมินผู้ขายและใช้ในการ เจรจาต่อรองได้
กลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดซื้อระดับโลก     
1. การจัดหาประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำ และควบคุณภาพที่ดี โดยทั่วไปบริษัทร่วมกันประหยัดต้นทุนในการจัดหาได้ประมาณ ร้อยละ 10-35 ในอดีตประเทศจีนได้พิจารณาไปประเทศที่มีราคาต่ำที่สุด และด้วยคุณภาพที่ยอมรับได้ (จะระมัดระวังนี้ เพราะต้นทุนค่าขนส่งแต่เพียงอย่างเดียวในประเทสจีนถึงประตูโรงงานสามารถเพิ่มราคา โดยพิจารณาด้วยราคาที่ดินต่อหน่วย ทำให้มั่นใจด้วยราคาของผู้จัดจำหน่าย  เสนอราคาค่าขนส่งด้วยจังหวะเวลาอื่นๆ ทั้งหมดที่แข่งขันกันของผู้จัดจำหน่าย ด้วยการเสนอราคาร้อยกว่าครั้งจนกว่าจะแน่ใจ และสิ้นสุดกับราคาที่เป็นไปได้ด้วยราคาที่ต่ำที่สุด แต่ปัจจุบันบริษัทได้เปลี่ยนปลายทางสู่ เกาหลี อินเดีย และเวียดนาม สำหรับทางเลือกประเทศผู้จัดจำหน่ายที่มีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ประเทศจีนที่เพิ่มราคาอย่างช้า ๆ และที่สำคัญการจัดซื้อระดับโลกเริ่มมีความสำเร็จในระดับยาก โดยต้องรู้ความต้องการของราคา และคุณภาพว่าเป็นอย่างไร คุณสมบัติของสินค้า และเวลาพอดีกับกลยุทธ์ทั้งหมดหรือไม่
2. การจัดหาประเทศที่สามารถนั่งเครื่องบินด้วยความสะดวกสบาย เมื่อเข้าสู่ความสัมพันธ์กับผู้จัดจำหน่ายจำนวนมาก มักจะมีความสัมพันธ์กับผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายที่ห่างกันออกไป คุณจะมักจะต้องการการเข้ามารับประกันของสินค้า และบริการที่จะทำการซื้อ การเข้าไปตรวจสอบสถานที่ให้แน่นใจว่าพวกเขาจะสามารถปฎิบัติตามกฎหมาย  และกฎระเบียบของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี  การตรวจสอบการทำงาน การเข้าถึงตลาดบนความรู้พื้นฐาน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคของผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายในการแข่งขันว่าต้องทำงานกันอย่างไร และสุดท้ายต้องดูว่าสินค้ากำลังทำการระบุคุณสมบัติ โดยการมีพูดถึงสินค้า และบริการที่มีการเลือกตลาด และราคาที่เหมาะสม
3. การจัดหาประเทศที่สามารถเข้าใจภาษา และเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับการซื้อและการขายได้ ด้วยการจัดการเจรจา โดยอาจอาศัยล่ามแปลภาษาให้ในกรณีที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง บอกวัตถุประสงค์ที่ทางผู้ซื้อต้องการ และผู้ซื้อยอมรับได้ ไปกับผู้จัดจำหน่าย ถ้าไม่สามารถยอมรับเงื่อนไขกันได้ หรือยอมรับได้เพียงบางส่วน จำเป็นต้องหาผู้จัดจำหน่ายรายใหม่ในประเทศเดียวกัน หรือประเทศอื่นที่มีความน่าสนใจใกล้เคียงกัน
4. การจัดหาประเทศที่สามารถรับเงื่อนไขทางกฎหมาย และสามารถปฎิบัติตามได้ เช่น ประเทศจีนมีความซับซ้อนมาก และไม่คุ้มครองสิทธิทางปัญญา และกฎหมายต่างๆ อาจไม่เหมาะสมกับแต่ละบริษัท เป็นความไม่แน่นนอน  ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ระหว่างผู้ซื้อกับผู้จัดจำหน่ายได้อย่างลงตัว ควรเลือกไปประเทศที่มีกฎหมายที่รองรับ และคุ้มครองสิทธิทางปัญญาของระหว่างบริษัทผู้จัดจำหน่ายกับบริษัทผู้ซื้อที่  เข้าใจง่าย  ไม่ซับซ้อน  และครอบคลุม
5. การจัดหาประเทศที่สามารถเชื่อถือได้ มีความเข้าใจที่ถูกต้อง  สำหรับการตัดสินใจทำธุรกิจ และทางเดียวเท่านั้นที่จะบรรลุความสัมพันธ์ได้ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าใดก็ตาม  ถ้าคุณไม่เชื่อถือ และไม่เคารพการติดต่อจากผู้จัดจำหน่าย นั้นก็ไม่ใช่จุดเริ่มต้นที่จะดำเนินการต่อไปในความสัมพันธ์
6. ต้นทุน คือ กลยุทธ์การจัดซื้อระดับโลกมักจะใช้ประโยชน์จากต้นทุนค่าแรงงานต่างชาติที่ต่ำ แต่ยังมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าขนส่งหลายรูปแบบ ค่าโบรกเกอร์ ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าภาษี และค่าประกันภัย
7. กฎหมาย คือ การจัดซื้อระดับโลกเจาะจงผู้ซื้อ  และผู้จัดจำหน่าย ที่จะเลือกมา 1 ใน  3 เนื้อหาของกฎหมายที่จะยอมรับการจัดจ้างกฎหมายของประเทศผู้ซื้อ      และกฎหมายของประเทศผู้จัดจำหน่าย หรือ ภายใต้เงื่อนไขกฎหมายของทั้งสองประเทศร่วมกัน
8. อัตราแลกเปลี่ยน คือ  ผู้ซื้อ และผู้ขาย ต้องยอมรับการใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่เหมือนกัน ในขณะเดียวกันผู้ซื้อบางรายยืนยันใช้สกุลเงินของตัวเองเพื่อความสะดวก หรือเลือกใช้สกุลเงินที่ได้ราคาดีที่สุด และนิยมใช้กันทั่วไป
9. ระยะเวลาในการขนส่ง คือ สำรหรับการจัดซื้อระดับโลก ปกติแล้วมีนัยสำคัญระยะยาวกว่าการขนส่งในประเทศ โดยการขนส่งทางทะเลจะช้ากว่าการขนส่งทางอากาศ และการจัดการศุลกากรต้องเสียเวลาเพิ่ม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการจัดหาภายในประเทศ
10. ภาษา และวัฒนธรรม คือ ถ้าคุณไม่เข้าใจในภาษา และวัฒนธรรมของผู้จัดจำหน่ายแล้ว ถือว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการสื่อสารคาดเคลื่อนได้
11. การขนส่ง คือ การจัดหาภายในประเทศ โดยปกติแล้วมักจะเกี่ยวข้องกับการขนส่งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และกาจัดซื้อจัดหาระดับโลกต้องอาศัยการขนส่งหลายรูปแบบถึงจะทำให้ถึง แบบ door to door ได้
12. รูปแบบการชำระเงิน คือ การจัดหาระดับโลกมักจะใช้การชำระเงินด้วย เลตเตอร์ ออฟ เครดิต โดยการทำสัญญาผ่านทางธนาคาร มีส่วนร่วมกันทั้งฝ่ายผู้ซื้อ  และฝ่ายผู้จัดจำหน่าย

เหตุผลการจัดหากลุยทธ์ 7 ประการ
1. การเข้าถึงวัตถุดิบ ถ้าบริษัทใช้วัตถุดิบที่ไม่สมบูรณ์ภายในประเทศ สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการจัดหาจากทั่วโลก ถ้ามีความพร้อมกว่าที่อื่น ทำให้ประหยัดต่อขนาดด้วยราคาที่ต่ำลง แม้จะมีค่าใช้จ่ายจากปัจจัยด้านขนส่งเพิ่ม
2. การเข้าถึงค่าจ้างที่ถูกกว่า กระบวนการผลิตที่ใช้แรงงานมากขึ้น  ทำให้ต้องจ้างแรงงานที่มีราคาถูกลง อาจต้องอาศัยประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าประเทศของตน และอาจมีการนำเทคโนโลยีราคาแพงมาทดแทนต้นทุนด้านแรงงานคนเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. การซื้อมาขายไป ทำให้การจัดซื้อระดับโลกทำงาน 2 วิธีตามที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายผู้ซื้อ และผู้จัดจำหน่าย ในการซื้อขายสินค้า และบริการ ระหว่างประเทศมีโอกาสทำข้อตกลง Offsets การขาย และโดยมีประโยชน์ร่วมกัน
4.  เรียนรู้วิธีการทำธุรกิจในประเทศอื่น   เรียนรู้วัฒนธรรม  และการทำงานของประเทศอื่น ๆ  อาจเป็นประโยชน์ที่สำคัญเมื่อต้องการที่จะซื้อขายกับประเทศเหล่านั้น ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ทำให้บรรลุเป้าหมาย
5. การกระตุ้นการแข่งขันภายในประเทศ  บางครั้งผู้ผลิตในประเทศมีหุ้นรายใหญ่ในตลาด การหาทางเลือกในต่างประเทศ อาจเป็นวิธีที่ดีในการดึงดูดผู้เข้ามาใหม่ในตลาด
6. การเพิ่มกำลังการผลิต หากมีการขาดแคลนในปัจจุบัน อาจเกิดจากวัสดุสำคัฐ หรือส่วนประกอบในการดำเนินงานการผลิตก็เป็นได้ อาจมีความเสี่ยงต่ออุปทานอย่างรุนแรง การหาแหล่งทางเลือกของผู้จัดจำหน่ายใหม่ในต่างปรเทศสามารถช่วยให้เพิ่มกำลังการผลิตที่มีอยู่ได้ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสภาวะสินค้าขาดมือ
7. การใช้ประโยชน์จากการมีองค์การระดับโลก หากองค์กรของคุณเป็นหนึ่งในนั้น การจัดซื้อจัดหาผ่านทางบริษัทย่อยของตัวเอง อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าถึงแหล่งผลิตทั่วโ
กลุยทธ์สู่ความสำเร็จ: โรงงานอุตสาหกรรมทุกภูมิศาสตร์  ทุกสัญชาติ ส่วนใหญ่มีการแบ่งปันเป้าหมายร่วมกันในการเพิ่มผลกำไรโดยอาศัยการลดต้นทุน และการเจริญเติบโตของจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดทั่วโลก  มีการจัดซื้อจัดหาโดยใช้รูปแบบการขนส่งรถบรรทุกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสามารถขนส่งแบบ Door to door ได้สะดวก  เรื่องการลดต้นทุนสินค้าไม่ใช้เรื่องยาก อย่างไรก็ตามการจัดซื้อระหว่างประเทศยังมีการลดต้นทุนด้านแรงงานเป็นกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่ง เหตุผลที่หลายบริษัททำการจัดซื้อจัดหาระหว่างประเทศนั้น เพราะมีการแข่งขันระดับโลกกันรุนแรงมากขึ้น ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการควบคุมการลดราคาลงได้ง่าย โดยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงงานที่ถูกกว่า ยอมรับได้ในด้านเวลาที่จำกัด ทรัพยากร งบประมาณเงินทุน และการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยผลิต และสำนักงานใหญ่โดยอาศัยเทค
โนโลยีสารสนเทศในการจัดซื้อจัดหาระดับโลก เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องการระหว่างกัน การสำรวจ  การวางแผนการจัดการด้านโลกจิสติกส์ และการจัดการกระบวนการผลิต อาจอาศัยการจ้างบริษัทอื่น  เพื่อจัดซื้อจัดหา สินค้า และบริการให้สามารถแข่งขันกันได้ในระดับโลก ถึงอย่างไรก็ตามในการจัดซื้อระดับโลกไม่อาจหนี้พ้นความเสี่ยงภายในสายโซ่อุปทานไปได้ เนื่องจากความแปรปรวนทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ของแต่ละประเทศ ล้วนแต่ส่งผลกระทบทั้งสิ้น
                การจะทำการจัดซื้อจัดหาสินค้าให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยข้อมูลทางสถิติในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และหลากหลายประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราห์ข้อมูล และระบบสารสนเทศที่ดี ทำให้สามารถกำหนดความต้องการในการจัดซื้อจัดหาระดับโลกได้อย่างเหมาะสม คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บทสรุป
                การจัดซื้อ และการจัดหาทั้งสินค้า และบริการในระดับโลก คือมีการประสานงานกันโดยอาศัยกระบวนการจัดการในด้านต่าง ๆ ที่ได้มาซึ่งสินค้าและบริการจากทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคโลกาวิวัฒน์ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสามารถในสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึง เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส อาทิ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีความสามารถดำเนินการต่าง ๆ  หาข้อมูล และติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก หรือเวลาใดก็ตาม  สามารถช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และทำให้สามารถทราบถึงแหล่งสินค้า  และบริการจำนวนมาก   มีการโฆษณาต่าง ๆ  ผ่านทางเว็บไซค์ดัชนีผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายในการสรรหาสินค้าตามความต้องการได้ง่าย  ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานทางธุรกิจในด้านการประหยัดเอกสาร ใช้เวลาอันรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารผ่านทาง  Social  Network  ต่าง ๆ  เช่น MSN, G-mail, Yahoo Mail, Tweeter, Facebook, Flickr, E-mail และทางช่องทางอื่นๆ อีกมากมาย  สามารถตอบสนองความต้องการได้แบบ Real Time  แต่ต้องดู Time Zone ของแต่ละประเทศ แต่ละเมืองว่ามีเวลาที่แตกต่างจะประเทศของเรามากน้อยเพียงใด เหมาะสมหรือไม่ที่จะทำการติดต่อแบบทันที



บรรณานุกรม
การจัดซื้อระดับโลก  (ออนไลน์) สืบค้นจาก :
นิยามการจัดซื้อระดับโลก LGM304, สืบค้นจาก : เอกสารประกอบการเรียน LGM304,
นพดล สุวรรณทรัพย์ม, 15 มี.ค.55.
ลักษณะสำคัญของการจัดซื้อระดับโลก  (ออนไลน์) สืบค้นจาก
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้วิธีการจัดซื้อระดับโลก   (ออนไลน์) สืบค้นจาก :
กลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดซื้อระดับโลก, (ออนไลน์) สืบค้นจาก :
A Global Sourcing Strategy: What’s Different? , (ออนไลน์) สืบค้นจาก :
PurchTips - Edition # 120 February 20, 2007 By Charles Dominick, SPSM, http://www.nextlevelpurchasing.com/articles/global-sourcing-strategy.html, 15 มี.ค.55.
Sourcing Strategy - 7 Reasons You Should Consider Global Sourcing (ออนไลน์) สืบค้นจาก :
9 แนวคิดการจัดซื้อระดับโลก (ออนไลน์) สืบค้นจาก :
โอกาสที่จะได้รับจากการจัดซื้อระดับโลก (ออนไลน์) สืบค้นจาก :
ข้อจำกัดและอุปสรรคในการจัดซื้อระดับโลก  (ออนไลน์) สืบค้นจาก : 08 Apr 10 , 
จันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ , วารสารชั้นนำธุรกิจด้านแฟชั่นของสหรัฐ WWD ได้จัดสัมมนาเรื่องของ “Global Sourcing and Supply Chain”
บทเรียน "Share of Voice" , ออนไลน์) สืบค้นจาก :

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตสาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ทุกท่าน เข้าสู่ชั่วโมงการทำงานด้วยความมุ่งมั่นและมั่นใจ


                                                                                                                   คณะผู้จัดทำ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เว็บบล็อก การจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต สร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของ คณาจารย์ และนักศึกษา ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจได้ศึกษา และเข้าใจ การจัดการโลจิสติกส์ได้ดียิ่งขึ้น

                                                                                                                    คณะผู้จัดทำ